นิทานหรือนิยายเชิงปรัชญา (Les contes ou romans philosophiques) ของ ผลงานของวอลแตร์

นิทานนิยายเหล่านี้เป็นงานเขียนเชิงเสียดสี (Satirique) ที่วอลแตร์ใช้เป็นเครื่องมือเผยแพร่ความคิดทางปรัชญาเข้าสู่มหาชน อย่างไรก็ตามเขาก็มีความสามารถในการเล่านิทานเป็นอย่างดี คือ เนื้อเรื่องไม่ซับซ้อน สนุกแฝงอารมณ์ขัน ไม่น่าเบื่อและสามารถใส่รสชาติแก่คุณค่าของสิ่งที่มาจากต่างแดน ดังนั้นงานประเภทนี้เองที่ทำให้วอลแตร์กลายเป็นอมตะ นิทานแต่ละเรื่องจะมุ่งแสดงความคิดที่สำคัญที่สุดหนึ่งอย่างและพร้อมกันนั้นเขาก็เสียดสีและโจมตีสถาบันต่าง ๆ อีกด้วย โดยเฉพาะสถาบันศาสนาและกระบวนการยุติธรรม

นิทานปรัชญาของวอลแตร์ที่สำคัญและน่าสนใจมีอยู่หลายเรื่องด้วยกัน เช่น

  • Zadig (1747) แสดงให้เห็นถึงความไร้เหตุผลของชะตาลิขิต (La destinée) หรือพระเจ้า (La providence) ซึ่งขาดความยุติธรรม กล่าวคือ คนดียังต้องถูกลงโทษ คนชั่วกลับได้รับรางวัล
  • Micromégas (1752) กล่าวถึงความสัมพันธ์ของสรรพสิ่ง
  • Candide (1759) กล่าวได้ว่าเป็นนิทานปรัชญาชิ้นเอกของวอลแตร์ เขาได้โจมตีลัทธิสุทรรศนิยม (L’optimisme) ของ ไลบ์นิซ (Leibnitz) ซึ่งเป็นลัทธิที่สอนให้มนุษย์มองโลกในแง่ดีตลอดเวลา กล่าวคือ พระเจ้าไม่อาจสร้างโลกที่ดีพร้อมสมบูรณ์ได้ พระเจ้าจึงสร้างโลกให้มีความทุกข์ยากและความเลวร้าย ดังนั้นเมื่อมนุษย์ได้ผ่านพ้นเหตุการณ์อันเลวร้ายแล้ว ต่อมาก็จะมีความสุขและความดีที่ยิ่งใหญ่ก็จะตามมาเป็นเครื่องชดเชย
  • L’ingénu (1767) เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างธรรมชาติกับสังคม และความขาดขันติธรรมของคริสต์ศาสนา

จากผลงานโดยรวมแล้ว เราจะเห็นได้ว่าวอลแตร์พยายามสอดแทรกความคิดทางปรัชญาและการโจมตีเสียดสีต่าง ๆ ไว้มากมายในผลงานของเขาอยู่เสมอ จึงทำให้ผลงานวรรณกรรมบางด้านไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก อย่างไรก็ตาม เขาก็ได้ทำให้ชาวฝรั่งเศสในสมัยนั้นมีความคิดตามและความคิดกว้างขึ้นจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้านในเวลาต่อมา

ใกล้เคียง

ผลงานเพลงของเอ็กโซ ผลงานเพลงของเซเวนทีน ผลงานด้านภาพยนตร์ของเฉินหลง ผลงานเพลงของเกิลส์เจเนอเรชัน ผลงานเพลงของเอ็นซีที ผลงานเพลงของแบล็กพิงก์ ผลงานเพลงของไอยู ผลงานของเทกแดต ผลงานเพลงของสเตรย์คิดส์ ผลงานเพลงของเอพิงก์